วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน
หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย
ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556 ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่มล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แมม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมาเลย์ ชาวอินเดียและชาวยูเรเซีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลางและภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆ
ประเทศสิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา รัฐเดี่ยว และใช้ระบบหลายพรรคการเมือง โดยมีการปกครองสภาเดี่ยวระบบเวสต์มินสเตอร์ พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่เริ่มการปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2502 ภาวะครอบงำของพรรคกิจประชาชน กอปรกับระดับเสรีภาพสื่อต่ำและการปราบปรามเสรีภาพพลเมืองและสิทธิการเมืองนำให้ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ (flawed democracy) ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศสิงคโปร์นำให้มันมีอิทธิพลอย่างสำคัญในกิจการโลก นำให้นักวิเคราะห์บางส่วนระบุว่าเป็นอำนาจปานกลาง (middle power)
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ประวัติอาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง

ดูบทความหลักที่: อาณาจักรล้านช้าง
ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น
  • พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
  • พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง ภายหลังเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

ความแตกแยกในอาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้านเช่นไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกัน ในลักษณะนี้ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2321

สงครามเจ้าอนุวงศ์

ดูบทความหลักที่: สงครามเจ้าอนุวงศ์
พ.ศ. 2369 อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีพระเจ้าอนุวงศ์เป็นกษัตริย์ ได้รับราชการกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงสยามมีความชอบมาก จึงประทานเมืองจำปาสักให้เจ้าราชบุตรโย้ ราชโอรสของเจ้าอนุวงศ์ปกครอง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมา เจ้าอนุวงศ์เห็นว่าเป็นช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจึงคิดแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับไทยอีกต่อไป จึงระดมกำลังรวมกับเจ้าราชบุตรโย้ซึ่งครองจำปาสักยกทัพมาตีสยามทางด้านภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน พร้อมทั้งแสวงหาพันธมิตรจากหลวงพระบางและหัวเมืองล้านนาแต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง เนื่องจากหัวเมืองดังกล่าวฝักใฝ่กับฝ่ายไทยมากกว่า เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมาเห็นจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินใจเผาเมืองนครราชสีมาทิ้งและกวาดต้อนเชลยตามรายทางกลับไปเวียงจันทน์ ระหว่างทางเชลยที่ถูกกวาดต้อนก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้กองทัพลาวที่ทุ่งสำริดจนเสียกำลังทหารลาวส่วนหนึ่งด้วย ด้านฝ่ายไทยซึ่งทราบข่าวค่อนข้างช้าก็ได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์และเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นมาปราบปราม กองทัพเจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงแตกพ่าย ตัวเจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เชื้อสายก็ต้องหนีภัยไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนาม ฝ่ายสยามจึงยึดกรุงเวียงจันทน์ไว้โดยยังมิได้ทำลายเมืองลงแต่อย่างใด เป็นแต่แต่งกองทหารจำนวนหนึ่งรักษาเมืองไว้เท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2371 เจ้าอนุวงศ์ได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์โดยมากับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสเจ้าอนุวงศ์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบทั้งหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามจึงถอนกำลังเพื่อรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้ง ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เมื่อสู้กองทัพไทยไม่ได้จึงไปหลบภัยที่เมืองพวน (แขวงเชียงขวางในปัจจุบัน) แต่เจ้าน้อยเมืองพวนกลับจับตัวเจ้าอนุวงศ์และพระราชวงศ์ที่เหลืออยู่ส่งลงมากรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็มีพระบรมราชโองการให้ทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน เมืองเวียงจันทน์ที่ถูกทำลายลงในครั้งนั้นมีเพียงแค่หอพระแก้วและวัดสีสะเกดเท่านั้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน
สงครามเจ้าอนุวงศ์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามและจักรวรรดิเวียดนาม จนกระทั่งเกิดสงครามที่เรียกว่า "อานามสยามยุทธ" เป็นระยะเวลาถึง 14 ปี เพราะทั้งสองอาณาจักรล้วนต้องการขยายอิทธิพลของตนเข้าไปในดินแดนลาวและเขมร ทั้งสงครามนี้ยังเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลระหว่างไทยกับลาวสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ลาวยุคอาณานิคมฝรั่งเศส

การขยายอำนาจของฝรั่งเศสสู่ลุ่มแม่น้ำโขง

ดูบทความหลักที่: อินโดจีนฝรั่งเศส และ สงครามปราบฮ่อ
แผนที่การเสียดินแดนของไทยให้แก่ชาติตะวันตก พื้นที่สีฟ้าแสดงดินแดนลาวส่วนที่ไทยยกให้ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) พื้นที่สีฟ้าหม่นแสดงดินแดนลาวส่วนที่ไทยยกให้ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904)
ครั้นถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ต่อช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศฝรั่งเศสเริ่มให้ให้ความสนใจที่จะขยายอำนาจเข้ามาสู่ดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อหาทางเข้าถึงดินแดนตอนใต้ของจีนเพื่อเปิดตลาดการค้าแห่งใหม่แข่งกับอังกฤษ ซึ่งสามารถยึดเวียดนามได้ก่อนหน้านั้นแล้ว โดยฝรั่งเศสเริ่มจากการยึดครองแคว้นโคชินจีนหรือเวียดนามใต้ก่อนในปี พ.ศ. 2402 รุกคืบเข้ามาสู่ดินแดนเขมรส่วนนอกซึ่งไทยปกครองในฐานะประเทศราชในปี พ.ศ. 2406 (ไทยตกลงยอมสละอำนาจเหนือเขมรส่วนนอกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2410) จากนั้นจึงได้ขยายดินแดนในเวียดนามต่อจนกระทั่งสามารถยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2426 พรมแดนของสยามทางด้านประเทศราชลาวจึงประชิดกับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในระยะเวลาเดียวกัน ในประเทศจีนได้เกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงต่อต้านราชวงศ์ชิง กองกำลังกบฏชาวจีนฮ่อที่แตกพ่ายได้ถอยร่นมาตั้งกำลังซ่องสุมผู้คนอยู่ในแถบมณฑลยูนนานของจีน ดินแดนสิบสองจุไทย และตามแนวชายแดนประเทศราชลาวตอนเหนือ กองกำลังจีนฮ่อได้ทำการปล้นสะดมราษฏรตามแนวพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สร้างปัญหาต่อการปกครองของทั้งฝ่ายไทยและฝรั่งเศสอย่างยิ่ง เพราะส่งกำลังไปปราบปรามหลายครั้งก็ยังไม่สงบ เฉพาะกับอาณาจักรหลวงพระบางนั้น ทางกรุงเทพถึงกับต้องปลดพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบางออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถรักษาเมืองและปล่อยให้กองทัพฮ่อเข้าปล้นสะดมและเผาเมืองหลวงพระบางลง และตั้งเจ้าคำสุกขึ้นเป็นพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ปกครองดินแดนแทน
ไทย (หรือสยามในเวลานั้น)จึงร่วมกับฝรั่งเศสปราบฮ่อจนสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายไล่ตีกองกำลังจีนฮ่อจากอาณาเขตของแต่ละฝ่ายให้มาบรรจบกันที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟูในปัจจุบัน) แต่ก็เกิดปัญหาใหม่ คือ ฝ่ายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอ้างสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจุไทยโดยไม่ยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองแถงเพราะอ้างว่าเมืองนี้เคยส่งส่วยให้เวียดนามมาก่อน ปัญหาดังกล่าวนี้มีที่มาจากภาวะการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้าของเมืองปลายแดน ซึ่งจะส่งส่วยให้แก่รัฐใหญ่ทุกรัฐที่มีอิทธิพลของตนเองเพื่อความอยู่รอด
พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แม่ทัพฝ่ายไทย เห็นว่าถ้าตกลงกับฝรั่งเศสไม่ได้จะทำให้ปัญหาโจรฮ่อบานปลายแก้ยาก จึงตัดสินใจทำสัญญากับฝรั่งเศสในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ให้ฝ่ายไทยตั้งกำลังทหารที่เมืองพวน (เชียงขวาง) ฝรั่งเศสตั้งกำลังทหารที่สิบสองจุไทย ส่วนเมืองแถงเป็นเขตกลางให้มีทหารของทั้งสองฝ่ายดูแลจนกว่ารัฐบาลทั้งสองชาติจะเจรจาเรื่องปักปันเขตแดนได้ ผลจากสนธิสัญญานี้แม้จะทำให้ฝ่ายไทยร่วมมือปราบฮ่อกับฝรั่งเศสจนสำเร็จ และสามารถยุติความขัดแย้งเรื่องแคว้นสิบสองจุไทย เมืองพวน และหัวพันทั้งห้าทั้งหกยุติลงไปชั่วคราว แต่ก็ต้องเสียดินแดนสิบสองจุไทยโดยปริยายไป

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112[แก้]

ดูบทความหลักที่: วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
ดินแดนลาวทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ประเทศฝรั่งเศส จากการใช่เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวี กงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2436

กรณีพิพาทอินโดจีน

ดูบทความหลักที่: กรณีพิพาทอินโดจีน
หลังฝรั่งเศสแพ้ต่อนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลก พลตรี แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทย ตัดสินใจว่าความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจะยิ่งให้ไทยมีโอกาสทวงดินแดนที่เคยเสียไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับคืนมามากกว่า การปกครองอาณานิคมของอินโดจีนฝรั่งเศสถูกตัดขาดจากความช่วยเหลือและกำลังบำรุงจากภายนอก และหลังจากการบุกครองอินโดจีนของญี่ปุ่นเมื่อเดือนกันยายน 2483 ซึ่งฝรั่งเศสถูกบีบให้อนุญาตให้ญี่ปุ่นตั้งฐานทัพ เป็นการชวนให้รัฐบาลแปลกเชื่อว่าวิชีฝรั่งเศสจะไม่สามารถต้านทานการเผชิญหน้ากับไทยอย่างจริงจังได้ รัฐบาลไทยจึงได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลฝรั่งเศสให้ถือเอาร่องแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน และขอให้ฝรั่งเศสรับรองว่าถ้าฝรั่งเศสไม่สามารถปกป้องได้ ก็คืนลาวและกัมพูชาให้แก่ไทย
การสู้รบดำเนินมาจนวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นเกรงว่าการสู้รบครั้งนี้จะเป็นอุปสรรคต่อนโยบายของญี่ปุ่นจึงเสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายจำต้องยินยอม จนในที่สุดการไกล่เกลี่ยผลปรากฏว่าไทยได้ดินแดนที่เป็นข้อพิพาทกลับคืนมา

ขบวนการลาวอิสระ และเส้นทางสู่เอกราชของลาว[แก้]

ดูบทความหลักที่: ลาวอิสระ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือเจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว

ราชอาณาจักรลาวและสงครามกลางเมือง[แก้]

ดูบทความหลักที่: ราชอาณาจักรลาว
พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหาร รัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ซึ่งรุนแรงยิ่งกว่าครั้งแรก และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองและรัฐประหารหลายครั้งด้วยกัน จนถึงปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และคอมมิวนิสต์เวียดนามโดยการนำของ เจ้าสุภานุวงศ์ ก็ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ จึงนำเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ และสถาปนาประเทศลาวเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ดูบทความหลักที่: ประเทศลาว
สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 1980 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกะทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7

ประวัติประเพณีสงกรานต์

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

      สงกรานต์ซึ่ง เป็นประเพณีของประเทศไทย  สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การผ่าน หรือ การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี...
       
ประเพณี สงกรานต์ ของไทย
 
ประเพณีสงกรานต์ ของไทยที่สืบกันมาอย่างช้านาน
 
        โดยการนับ ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ และ มีน การโคจร ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก อินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น

วันมหาสงกรานต์ 13 เมษายน

     วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ ราศีเมษนั้น  โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ  วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า (วันที่ 13 เมษายน)  วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก (วันที่ 15 เมษายน) 

         หรือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของประเทศไทยและบางประเทศในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และชาวต่างประเทศจะเรียกว่าเทศกาลนี้ว่า “สงครามน้ำ” สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมาย ถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดของแต่ละปี ซึ่งจะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ
 

ชื่อของนางสงกรานต์

     ชื่อของนางสงกรานต์มี ดังนี้  วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษะเทวี วันจันทร์ชื่อนางโคราคะเทวี วันอังคารชื่อนางรากษสเทวี วันพุธชื่อนางมณฑาเทวี วันพฤหัสชื่อนางกิริณีเทวี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทาเทวี วันเสาร์ชื่อนางมโหธรเทวี
 
นาง สงกรานต์ ทั้ง7 ของท้าวกบิลพรหม
นางสงกรานต์ ทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม
 

ตำนานนางสงกรานต์

 
        บุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานก เรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุเจ็ดขวบ เป็นอาจารย์บอก มงคลต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหมและกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบ จึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ สัญญาไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า
 
 
ท้าวกบิลพรหมทรงตรัสถามปัญหา 
ท้าวกบิลพรหมทรงตรัสถามปัญหา 3 ข้อ
 
ข้อ 1. เช้าราศีอยู่แห่งใด 
 ข้อ 2. เที่ยงราศีอยู่แห่งใด
ข้อ 3. ค่ำราศีอยู่แห่งใด 
 
        ธรรมบาลขอผลัด 7 วัน ครั้นล่วงไปได้ 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น  ครั้ง เวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่หน้า  มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่อก  มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่เท้า  มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้าครั้งรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถามปัญหา ธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา 
 
ท้าวกบิลพรหมจึงตรัส เรียกเทพธิดาทั้ง ๗ มาฟัง 
ท้าวกบิลพรหมจึงตรัส เรียกเทพธิดาทั้ง 7
 
 
        ท้าวกบิลพรหมจึงตรัส เรียกเทพธิดาทั้ง 7 อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน บอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาล ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง 
 
     ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้ แล้วแห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที จากนั้นเชิญไปประดิษฐานไว้ในมณฆปถ้ำคันธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่าง ๆ พระเวสสุกรรมกันฤมิตรแก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงนำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทุก ๆ พระองค์ ครั้งถึงครบกำหนด 365 วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น
 
     เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่าง ๆ ดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษะเทวี วันจันทร์ชื่อนางโคราคะเทวี วันอังคารชื่อนางรากษสเทวี วันพุธชื่อนางมณฑาเทวี วันพฤหัสชื่อนางกิริณีเทวี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทาเทวี วันเสาร์ชื่อนางมโหธรเทวี
 
 
ความหมายวันมหาสงกรานต์ของแต่ละวัน
 
    ถ้าปีใดวันมหาสงกรานต์เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล วันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย
 
    วันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์  จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บ ไข้นักแล วันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล
 
    วันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้ข้าไท พระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจกันแล
 
    วันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล
 
 
สาดน้ำเล่น สงกรานต์ ของชาวเหนือ
สาดน้ำ เล่นสงกรานต์ของชาวภาคเหนือ
 
ความสำคัญของวันสงกรานต์ 
        พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อส่วนนั้นไปและ ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ
 
        เวลาได้เปลี่ยนไป ผู้คนได้มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ๆ และจะถือเอาวันสงกรานต์เป็นวัน “กลับบ้าน” ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายขอเทศกาล  นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยัง ถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปัจจุบันนี้เทศกาลสงกรานต์มีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาด เคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นเท่านั้น
 
 
สงกรานต์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย 
สงกรานต์ Festivel ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย
       
        ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” วันถัดมาเรียกว่า “วันเนา” และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า “วันเถลิงศก” จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง
  
 
กิจกรรมในวันมหาสงกรานต์
 
 
พุทธศาสนิกชนทำบุญ วัน สงกรานต์
พุทธศาสนิกชนใส่บาตรทำบุญใน วันสงกรานต์
 
        วันมหาสงกรานต์ ประชาชนจะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหาร ไปตักบาตรถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะ บรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงาม แล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน  เรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน 
 
ก่อพระเจดีย์ทราย วันสงกรานต์
ก่อพระเจดีย์ทราย วันสงกรานต์
 
ก่อพระเจดีย์ทราย
       
        ในสมัยก่อนทีเรื่องเล่าขานกันว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะมีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วยเพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มจึงมีการขนทรายเข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเองแต่ถึงอย่างไรแล้วการก่อพระเจดีย์ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำเพราะตอนเย็นๆชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคีกรมเกลียวเพราะเมื่อขนทรายเข้าวัดแล้วทรายก็จะล้นวัดพระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิมเพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไรเพราะฉะนั้นแล้วเวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นพอเพราะจะสร้างความลำบากให้พระเณรในภายหลัง

 
ร่วมใจปล่อยนก วันสงกรานต์
พุทธศาสนิกชนร่วมใจปล่อยนก วันสงกรานต์ 
 
ปล่อยนกปล่อยปลา
           
         การปล่อยนกปล่อยปลาในวันมหาสงกรานต์ถือว่าทำกันอาจจะเป็นประเพณีเลยทีเดียวเพราะนั่นถือว่าเมื่อเข้าวัดมาแล้วก็ต้องทำบุญโดยการปล่อยนกปล่อยปลาถ้าถือตามความเชื่อแล้วอานิสงส์ในการปล่อยนกปล่อยปลาถือว่ามีมากเลยทีเดียวแล้วแต่ใครจะอธิฐานแบบไหนเพราะการให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์ที่ถูกจับมาทรมานถือว่าได้บุญมากเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นไม่แปลกเลยถ้าถึงวันสงกรานต์จะเห็นประชาชนปล่อยนกปล่อยปลา

 
สงน้ำพระ วันสงกรานต์ 
พุทธศาสนิกชนร่วมใจสรงน้ำพระ วันสงกรานต์ 
 
สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ
       
        การสรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปีใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

http://www.dmc.tv/pages/scoop/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html